บก.ปอศ. เปิดปฏิบัติการ “Operation Crypto
Phantom ” กวาดล้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์พิจิทัลผิดผิดกฎหมายเงินหมุนเวียนกว่า 14,000 ล้านบาท
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด
เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก, พล.ต.ต.ทัศน์ภูมิ จารุปรัชญ์ ผบก.ปอศ.,พ.ต.อ.วิจักขณ์ ตารมย์, พ.อ.จักรกริช เส
ริบุตร, พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล รอง ผบก.ปอศ.,
เจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้น นำโดย พ.ต.อ.วิจักชณ์ ตารมย์ รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน ผกก.3 บก.ปอศ., ว่าที่ พ.ต.อ.ภาสกร นภาโชติ ผกก.1 ปทส.ปรกฯ บก.ปอศ., พ.ต.ณธัชพงศ์ สินสิริยานนท์,
พ.ต.ท.ชวลิต น้ำใจสัตย์, พ.ต.ท.สุรโชค กังวานวาณิชย์ รอง ผกก.3 บก.ปอศ., พ.ท.ธรรมศักดิ์ พลเดช รอง ผกก.7บก.ทล. ปรกฯ บก.ปอศ, พ.ต.ท.หญิง ปวีณวรรณ พลหาญ,พ.ต.ท.ประภาส วังงาม, พ.ต.ท.วรพจน์ ลลิตจิรกุล,
พ.ต.ต.รัฐชิน เจริญรัมย์ สว.กก.3 บก.ปอศ. พร้อมกำลังข้าราชการตำรวจกองกำกับการ 3 กองบังบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศษฐกิจ
ร่วมกันตรวจค้น 8 จุด ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต จ.ชลบุรี และ กรุงเทพมหานคร ดังต
1.อาคารพานิชย์ ในพื้นที่ ม.10 ต.ฉลอง อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต ตามหมายค้นของศาลจังหวัดภูเก็ต ที่ 98/2568 ลง 18 เม.ย.68
2.บริษัท รับแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล แห่งหนึ่งในพื้นที่ ถ.บำสัก-โคกโตนด ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
ตามหมายค้นของศาลจังหวัดภูเก็ต ที่ 99/2568 ลง 18 เม.68 (Ex24,0)
3.บริษัท รับแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล แห่งหนึ่งในพื้นที่ ม.5 เชิงทะเล ถลาง ภูเก็ต ตามหมายค้นของศาล
จังหวัดภูเก็ต ที่ 100/2568 ลง 18 เม.ย.ย.68 (Cptopida)
4.อาคารพานิชย์แห่งหนึ่ง ห้องเลขที่ 5,7 ถนนผังเมืองสาย ก. ต.ป้าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ตามหมายค้นของ
ศาลจังหวัดภูเก็ต ที่ 101/2568 ลง 18 เม.ย.68 (Money Markets)
5.บริษัท รับแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดีจิทัล แห่งหนึ่งในพื้นที่ หม่ที่ 9 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตาม
หมายค้นของศาลจังหวัดพัทยา ที่ 66/2568 ลง 18 เม.ย.68
6.บ้านในพื้นที่ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ เขตหัวยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามหมายค้นศาลอาที่
334/2568 ลง 18 เม.ย.68 (หัว เหยิน จื่อเจีย(华人之家服务中心))
บ้านในพื้นที่ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตามหมายค้นศาลอาญาที่
335/2568 aN 18 ulย.68 (67) งุยฮัวน ขาง (货币兑换 Exchange))
8.บ้านในพื้นที่ ซอยพระราม 2 ซอย 62 แยก 1-2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ตามหมายค้นศาลอาญาธนบุรี ที่ 133/2568 ลง 18 เม.ย.68
พฤติการณ์ สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ในปัจจุบันอาชญากรรมรูปแบบใหม่กำลังทวีความรุนแรงและ มี
ลักษณะซับซ้อนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การพนัน
ออนไลน์ และขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนแผนประทุษกรรมให้ทันสมัยขึ้น ตามพัฒนาการของเทคโนโลยี หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่อาชญากรใช้ในการอำพรางเส้นทางการเงิน คือ “คริปโตเคอร์เรนซี” ซึ่งมักถูก
นำมาใช้ในการฟอกเงิน โดยกระบวนการฟอกเงินในปัจจุบัน มีหลายวิธี ซึ่งหนึ่ง ในวิธีการที่คนร้ายมักใช้ คือการทำธุรกรรมผ่านร้านแลกเปลี่ยนคริปโตที่ไม่ได้รับอนุญาตในไทย หลังจากนั้น สินทรัพย์ต่างๆจะถูกถอนออกมาเป็นเงินสดในที่สุด สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ของประเทศในหลายมิติ ทั้งการสูญเสีย
รายได้ของรัฐ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการเสื่อมถอยของระบบ การเงินที่โปร่งใส อีกทั้งยังสร้างความ
เสียหายให้กับประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการ ดังกล่าว
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. จึงได้กำหนดนโยบายสำคัญให้ทุกหน่วย ในสังกัดเข้มงวดกับการตรวจสอบการใช้คริปโตเคอร์เรนซีในลักษณะที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นช่องทางฟอกเงิน หรือปกปิด เส้นทางการเงินในเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ จากการสืบสวนของ กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) พบว่า ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต มีร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราแอบแฝงการให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท USD Tether (USDT) แบบ “ชน
มือ” ซึ่งก็คือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้ผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยการให้บริการลักษณะดังกล่าว มีเป้าหมายชัดเจนในการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงหลบเลี่ยงภาษี และมีการนำเงินที่ได้ไปหมุนเวียนในธุรกิจผิดกฎหมายหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเครือข่าย ค้ายาเสพติดและแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบว่า ธุรกรรมมากกว่า 1,000 รายการ เชื่อมโยงกับ
เครือข่ายอาชญากรรม และมีเงินหมุนเวียนรวมสูงถึงถึง 425,104,595 USDT หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท
กองกำกับการ 3 บก.ปอศ. จึงได้เปิดปฏิบัติการภายใต้ชื่อ Operation Crypto Phantom
ตรวจค้น 8 หมาย พบผู้กระทำผิดที่ให้บริการแลกเปลี่ยนผิดกฎหมายและอยู่ระหว่างการดำเนินคดี 5 รา
ของกลางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ สมุดบัญชีธนาคาร Hard
Wallet และเอกสารธุรกรรมจำนวนมาก โดยพฤติกรรมของเครือข่ายนี้มีลักษณะเป็นการเปิด “โต๊ะแลกศริปโด”ให้ลูกค้าชาวต่างชาติใช้เงินบาทแลกเหรียญดิจิทัล หรือแลก USDT กลับเป็นเงินบาท แบบไม่ผ่านระบบ Exchangeที่ได้รับอนุญาต ซึ่งนำไปสู่การฟอกเงินในต่างประเทศผ่านกระเป้าเงินดิจิทัลและ Exchange ต่างชาติ ก่อนกระจายเงินเข้าสู่กลุ่มมิจฉาชีพ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือธุรกิจผิดกฎหมายอื่น โดยการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิจิทัลใน
ลักษณะ “ชนมือ” หรือการนัดพบเพื่อแลกเปลี่ยน เหรียญดิจิทัลกับเงินสด นอกสถานที่และนอกระบบที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ทั้งในด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และการมีส่วนร่วนร่วมในธุรกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินหรือกิจกรรมผิดกฎหมายอื่น ๆ โดยหากพบว่ามีการดำเนินการดังกล่าวโดยบุคคลทั่วไป หรือแม้แต่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบ กิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่มีการแอบให้บริการแลกเปลี่ยน สินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายเช่นกัน
บช.ก.(CIB) จึงขอให้ประชาชนเลือกใช้บริการผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญถูกต้องตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อเป็นกลไกใน าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นแก่ ภาคธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติ รัพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการกำกับดูแล การดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้มีความปลอดภัย โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยขอแจ้งเตือนประชาชนและผู้ประกอบการให้ระมัดระวังการ ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยไม่ได้ รับอนุญาต ซึ่งอาจเข้าข่าย
กระทำผิดกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 2 -5 ปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาท ถึงห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกิน วันละหนึ่งหมื่นบาท
ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท รวมถึงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา ในหมวดการฉ้อโกงหรือการใช้เอกสารอันเป็นเท็จ และหากเป็นผู้ประกอบธุรกิจ แลกเปลี่ยนเงินตราที่มีใบอนุญาต จากธนาคารแห่ง
ประเทศไทยแต่ผ้าฝืนโดยลักลอบให้บริการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตและถูกดำเนินคดีเพิ่มเติมด้วย จึงขอให้ประชาชน ใช้บริการเฉพาะผู้ที่ได้รับใบอนุญาต อย่างถูกต้อง และหากพบพฤติกรรมต้องสงสัยสามารถแจ้งเบาะแสต่อเจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกัน ความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ท.ณธัชพงศ์ สินสิริยานนท์ รอง ผกก.3 บก.ปอศ. โทร. 080-006-3763



