ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม อย. ปูพรม 6 จุด ทลายโกดังเครื่องสำอาง-อาหารจีนไร้คุณภาพตรวจยึดของกลาง 107 รายการ รวม 4 แสนชิ้น มูลค่ากว่า 46 ล้านบาท

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม อย. ปูพรม 6 จุด ทลายโกดังเครื่องสำอาง-อาหารจีนไร้คุณภาพ ตรวจยึดของกลาง 107 รายการ รวม 4 แสนชิ้น มูลค่ากว่า 46 ล้านบาท กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย, พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก., เจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ปฏิบัติการกรณี ทลายโกดังจัดเก็บผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศ ลวงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตรวจยึดของกลาง 107 รายการ รวมจำนวน 476,965 ชิ้น มูลค่ากว่า 46,200,000 ล้านบาท พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการในการเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในประเทศไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร ไม่มีเลขจดแจ้ง(อย.) หรือไม่มีการแสดงฉลากเป็นภาษาไทย โดยหากประชาชนซื้อไปบริโภคอาจทำให้เข้าใจสรรพคุณ วิธีการบริโภค และส่วนประกอบต่างๆ คลาดเคลื่อน อีกทั้งไม่สามารถทราบถึงแหล่งผลิต และมาตรฐานในการผลิต จนเกิดอันตรายในการบริโภคได้ โดยจากกการเฝ้าระวัง พบการโฆษณาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการสืบสวนจนทราบถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ต่อมาระหว่างวันที่ 18 -28 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารแลย (อย.) เข้าตรวจค้นสถานที่จัดเก็บ และแพ็คส่งสินค้าที่ จำนวน 6 จุด ดังนี้ 1. สถานที่จัดเก็บสินค้า ภายในโกดังในพื้นที่ ต.บ้านคลองสวน อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดพระประแดง เข้าทำการตรวจค้น โดยขณะตรวจค้นพบคนงานอยู่ระหว่างแพ็คบรรจุสินค้าลงกล่องพัสดุ เพื่อจัดส่งให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อ และพบนาย ต้อง (สงวนนามสกุล) ชาวเมียนมาร์ เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์อาหาร และวัตถุอันตราย จำนวน 29 รายการ เช่น ยาสีฟัน เครื่องสำอางยี่ห้อต่างๆ จำนวน 269,580 ชิ้น มูลค่ากว่า 40,000,000 บาท โดยโกดังดังกล่าวเปิดร้านค้าออนไลน์จำนวน กว่า 10 ร้าน 2. สถานที่จับเก็บ และไลฟ์สดขายสินค้า ภายในโกดังย่านแขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารแลย (อย.) นำหมายค้นศาลอาญามีนบุรีเข้าทำการตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง, วัตถุอันตราย, เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร จำนวน 27 รายการ รวม 44,076 ชิ้น มูลค่ากว่า 2,000,000 บาท ดังนี้ 2.1 เครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้งและแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ประเภท ยาสีฟัน ครีมทาผิว ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แต่งหน้า จำนวน 16 รายการ รวม 19,264 ชิ้น 2.2 เครื่องสำอางที่มีเลขจดแจ้ง แสดงฉลากไม่ครบถูกต้อง ประเภท ครีมกันแดด โฟมล้างหน้า ครีมนวดผม จำนวน 7 รายการ รวม 11,712 ชิ้น 2.3 วัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ประเภทผลิตภัณฑ์ยากันยุงชนิดน้ำที่ใช้กับปลั๊กไฟฟ้า จำนวน 2 รายการ รวม 8,240 ชิ้น 2.4 เครื่องมือแพทย์ลักษณะคล้ายเครื่องพ่นยา (Nebulizer) รวม 900 ชิ้น 2.5 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับ(แผ่นแปะสะดือลดความอ้วน) จำนวน 3,960 ชิ้น จากการสืบสวนเพิ่มเติมพบว่า โกดังดังกล่าวมียอดขายวันละ 1,800-2,000 ออเดอร์ โดยเปิดร้านค้าออนไลน์จำนวน กว่า 10 ร้าน และทำมาแล้ว 5 ปี 3. สถานที่จัดเก็บสินค้า ภายในบ้านพักพื้นที่ ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารแลย (อย.) นำหมายค้นของศาลจังหวัดธัญบุรีธัญบุรีเข้าตรวจค้น โดยมี น.ส.นันทนา(สงวนนามสกุล) อายุ 46 ปี เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น โลชั่น และครีมบำรุงเส้นผม จำนวน 6 รายการ รวม 14,805 ชิ้น มูลค่ากว่า 200,000 บาท โดยโกดังดังกล่าว โดยเปิดร้านค้าออนไลน์จำนวน กว่า 4 ร้าน และทำมาแล้ว 2 ปี 4. สถานที่จับเก็บสินค้า ภายในบ้านพักในพื้นที่แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารแลย (อย.) นำหมายค้นของศาลอาญามีนบุรี เข้าทำการตรวจค้น โดยมี นางสาวจินตนา (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปสำหรับประกอบอาหารเป็นหม้อไฟหมาล่า เช่น ฟองเต้าหู้รูปแบบต่างๆ, เครื่องและซุปก้อนหมาล่า, เส้นหนึบ รสมันม่วง-รสมันเทศ และวุ้นเส้นรสมันม่วง-วุ้นเส้นรสปวยเล้ง จำนวน 15 รายการ รวมจำนวน 116,900 ชิ้น มูลค่ากว่า 1,500,000 บาท โดยสถานที่ดังกล่าวเปิดร้านค้าออนไลน์ จำนวน 5 ร้าน มียอดขายวันละ 30,000 บาท และทำมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือน 5. สถานที่จับเก็บสินค้า ภายในโกดังในพื้นที่ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้นำหมายค้นของศาลแขวงสมุทรปราการ เข้าตรวจค้นสถานที่ดังกล่าว ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ครีมมบำรุงผิว แชมพู และเครื่องสำอางที่ไม่แสดฉลากเป็นภาษาไทย จำนวน 10 รายการ รวม 5,179 ชิ้น มูลค่าของกลางประมาณ 500,000 บาท 6. สถานที่จับเก็บสินค้าในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นของศาลแขวงดุสิตเข้าทำการตรวจค้นใน โดยมี นายปราโมทย์ (สงวนนามสกุล) ตรวจยึดผลิตภัณฑ์อาหาร เช่นเยลลี่ยี่ห้อ Le Chao Gummy Candy, พุทราจีนสอดไส้อัลมอลล์ และผลไม้อบแห้ง รวม 20 รายการ จำนวน 22,825 ชิ้น มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท โดยเปิดร้านค้าออนไลน์จำนวน 2 ร้าน มียอดขายวันละ 50,000 บาทและทำมาแล้วประมาณ 2 ปี รวมตรวจค้น 6 จุด ตรวจยึดของกลาง เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง, วัตถุอันตราย, เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวม 107 รายการ จำนวน 476,965 ชิ้น มูลค่ากว่า 46,200,000 ล้านบาท ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ดำเนินคดี จากการสืบสวนเพิ่มเติมพบว่า สินค้าจากการตรวจสอบเบื้องต้นสินค้าทั้งหมดมีการนำเข้ามาจากประเทศจีน โดยส่วนใหญ่ไม่แสดงฉลากเป็นภาษาไทย และบางรายการระบุฉลากภาษาไทยจากการแปลโดยโปรแกรมอัตโนมัติ ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะนำส่งตัวอย่างของกลางตรวจพิสูจน์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข เพื่อยืนยันอีกครั้ง หากตรวจพบการปนเปื้อน สารเคมีอันตราย หรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อไป เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด 1. พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 – ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง” ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท – ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 ฐาน “จำหน่ายอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง” ระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท 3. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ฐาน “ขายวัตถุอันตรายที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 ฐาน “ขายเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้อนุญาต” ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พล.ต.ต.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ ผบก.ปคบ. กล่าวว่า ในครั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. ได้ทำการตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ไม่แสดงฉลากภาษาไทย ไม่มี อย. ที่ประชาชนทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก โดยปฏิบัติการดังกล่าวเกิดจากการเฝ้าระวังในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและไม่ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค และขอฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพมาบริโภค ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลาก สรรพคุณ ส่วนประกอบ ผู้ผลิตและสถานที่ผลิตที่ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ เพราะฉลากผลิตภัณฑ์เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้ามาบริโภคหากแสดงฉลากไม่ครบถ้วนถูกต้อง อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เมื่อนำไปบริโภคอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ และขอเน้นย้ำกับผู้ลักลอบนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายทั้งหลายว่าอย่านำสินค้าที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายโดยเด็ดขาด หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา




You May Also Like