บก.ปคบ.ตรวจสอบโกดังเก็บวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต

บก.ปคบ.ตรวจสอบโกดังเก็บวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโดยไม่ได้รับอนุญาต
 
วันที่ 20 ธันวาคม 2566 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.วิทยา  ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ภาคภูมิ  ศรีลาภะมาศ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว รอง ผบก.ปคบ.,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.ชวินโรจน์ ภีมรัชตธำรงค์ ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.อุดมศักดิ์ แสงสุวรรณ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.,พ.ต.ท.ธีรภพ พันธุชาติ รอง ผกก.2 บก.ปคบ.
ได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการที่ 2 กก.2 บก.ปคบ. นำโดย,พ.ต.ท.จำรูญ คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ.,ร.ต.อ.มนูญ แทงทอง รอง สว.กก.2 บก.ปคบ. ร่วมกับ จนท.กองตรวจสอบเรือประมงสินค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กรมประมง และ จนท.กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์  
พฤติการณ์กล่าวคือ ตามหนังสือ บช.ก ที่ 0026.(11)/4567 ลง 18 ธ.ค.66 เรื่อง มาตรการป้องกันปราบปรามในช่วงวันคริสต์มาส และเทศการปีใหม่ 2567 ลง 18 ธ.ค.2566  ระหว่างวันที่ 18-27 ธ.ค.2566 นั้น เพื่อจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ และผู้กระทำผิดอาญา ในช่วงระดมกวาดล้างอาชญากรรม นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.66 เจ้าพนักงานตำรวจ ชป.2 กก.2 บก.ปคบ. ได้รับแจ้งจากสายลับ (ขอปกปิดนาม) เพื่อรับเงินรางวัลสินบนนำจับ ว่าที่โกดังเลขที่ 33/5-6 ม.1 ต.ราษฎร์นิยม อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี มีการลักลอบผลิตวัตถุอันตรายทางการประมงเพื่อส่งจำหน่ายให้กับเกษตรกรทั่วไป ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เจ้าพนักงานตำรวจ ชป.2 กก.2 บก.ปคบ. จึงได้ประสานกับกรมประมง และกรมปศุสัตว์ เพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
ผลการตรวจสอบ พบผลิตภัณฑ์ต้องสงสัยว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จำนวน 6 รายการ (ตามบัญชีแนบท้าย) รวมมูลค่าของกลางประมาณ 1,500,000 บาท
จากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวไม่มีใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย และพบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
ฐานความผิดดังนี้

  1. “มีไว้ในความครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้” ตาม ม.45(4),79 (อัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
  2. “มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 โดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน” ตาม มาตรา 22,72 (อัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
     พนักงานเจ้าหน้าที่กรมประมง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ได้เก็บตัวอย่างวัตถุอันตรายส่งตรวจวิเคราะห์ และนำส่ง พนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปคบ. และเจ้าพนักงานชุดดังกล่าวจะได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ประกอบการและผู้กระทำผิดอื่นที่สอบสวนถึง จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามกฎหมายต่อไป
     
    เตือนภัย ปัจจุบันมีเกษตรกรนำวัตถุอันตรายทางการเกษตร อันตรายทางการประมง และอันตรายทางปศุสัตว์ มาใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากวัตถุอันตรายที่นำมาใช้ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ หรือแม้กระทั่งต่อผู้ใช้เอง เกษตรกรที่นำวัตถุอันตรายที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องมาใช้อาจก่อให้เกิดผลเสียหาย วัตถุอันตรายที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ผลิตโดยโรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีมาตรฐานในการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง และจะไม่มีเอกสารคำแนะนำในการใช้ที่ถูกต้อง ผู้ใช้ไม่สามารถใช้วัตถุอันตรายได้ในอัตราที่เหมาะสม อาจทำให้อาจเกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้
    หากประชาชนทั่วไปพบว่าสถานที่ใดลักลอบผลิตวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต โปรดแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปคบ. กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
    ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ท.จำรูญ  คำมา สว.กก.2 บก.ปคบ.   โทร. 0623935995



You May Also Like