พนักงานการท่าเรือฯ 34 คน ผู้ต้องหาคดีพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวหาทุจริตเงินค่าล่วงเวลา เฮ !! ศาลยกฟ้องหมด เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 18 มีนาคม 2568 ที่ ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ที่อัยการพิเศษสำนักงานปราบปรามการทุจริต 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายจงเด่น บุตรสุทธิวงศ์ พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย กับพวกรวม 34 คน ร่วมกันกระทำการทุจริตการเบิกจ่ายเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยร่วมกันจัดทำเอกสารใบเบิกเงิน เพื่อใช้เบิกเงินดังกล่าว ทั้งที่ไม่ได้ทำงานจริง และใช้เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานในการฟ้องการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเพิ่มเติมในห้วงเวลา พ.ศ.2545–2555 ทั้งที่ไม่ได้ทำงานจริง ซึ่งพฤติการณ์ร่วมกันกระทำการดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดฐาน “เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารรับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสารอันเป็นเท็จ เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เบิกความอันเป็นเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162 ประกอบมาตรา 91 มาตรา 177 วรรคแรก มาตรา 180 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83, 84 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 โดยศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อหา ทนายกฤษฎา กล่าวว่าวันนี้ จำเลยทั้ง 34 คน เดินทางมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา โดยสรุปพนักงานทั้งหมดเป็นผู้บริสุทธิ์ ข้อหาที่กล่าวอ้างว่ากระทำผิด ม.157 เบิกความเท็จ ใช้เอกสารเท็จไปฟ้องเรียกเงินเพิ่มเติมที่ศาลแรงงานทุก อย่างศาลเห็นว่า ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเอาผิดจำเลยทั้งหมด จึงพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ศาลเห็นว่าการเบิกจ่ายกับการท่าเรือไปตามปกติ ศาลเห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต วันนี้จากคำพิพากษาศาลเป็นบทพิสูจน์ว่าการท่าเรือคุณได้กลั่นแกล้งพวกเขาหรือไม่ เมื่อผลออกมาแบบนี้ทำไมไม่คิดที่จะเยียวยาพวกเขาจะต้องให้เค้าไปร้องเรียนร้องทุกข์กับหน่วยงานใดอีก นายจงเด่น ตัวแทนพนักงานที่ตกเป็นผู้ต้องหากล่าวว่าตนต้องขอขอบคุณศาลที่ให้ความยุติธรรมกับพวกเรา รวมทั้งทีมทนายและทนายกฤษฎาที่ช่วย เหลือพวกเรา ให้ได้รับคืนความสุขกลับคืนมาสู่ครอบครัวของพวกเราที่ขาดหายไปหลายปีความทุกข์ยากที่เราอดทนกันมา วันนี้เอเห็นว่าพวกเราได้รับความยุติธรรมกลับคืนมา ตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมาพวกเราตก เป็นผู้ต้องหาส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจเกิดความเครียดคนในครอบครัวก็ไม่เป็นสุขเพราะเป็นห่วงพวกเราวันนี้เมื่อได้รับฟังข่าวพิพากษาแล้วก็รู้สึกดีใจที่ได้ได้รับความยุติธรรมและจะได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ ด้านนายบัง หรือ บุญช่วย ยี่สุ่นแย้มกลิ่น พนักงานการท่าเรือฯ หนึ่งใน 34 คน ที่ตกเป็นผู้ต้องหา เปิดใจว่า ตนถูก ดีเอสไอ ทำคดีว่าทุจริตเงินค่าล่วงเวลา จำนวน 123.69 บาท มาเป็นเวลา 8 ปี ซึ่งตนได้เบิกตามระเบียบของการท่าเรือฯ แต่กลับถูกฟ้องเป็นจำเลย วันนี้ศาลได้ตัดสินแล้วว่าเราไม่ได้มีความผิดไม่อยากจะพูดอะไรมากไม่มีอะไรที่จะฝากไปถึงการท่าเรือฯ อดีตพนักงานท่าเรือฯ ท่านหนึ่งกล่าวว่า ตนจะสามารถเรียกเงินค่าเสียหายในระหว่างที่ถูกดำเนินคดีต้องเสียเวลาทั้งที่ยังต้องทำงานอยู่ต้องเดินทางมาที่ศาลและอัยการหลายหลายครั้งในระยะเวลาสองปีค่าใช้จ่ายต้องเสียลูกเมียก็เดือดร้อนใครจะพยายามให้กับตนได้ มูลเหตุของคดี ในปี พ.ศ. 2557 ผู้บริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)ได้มอบอำนาจให้ นายโกมล ศรีบางพลีน้อย ร้องทุกข์ดำเนินคดีกับนายจงเด่น บุตรสุทธิวงศ์ กับพวก และพนักงาน กทท. คนอื่น ๆ รวมทั้งบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง กล่าวหาว่าทุจริตเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดเพิ่มเติม ในช่วงปี พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2555 ทำให้รัฐเสียหาย 3,300 ล้านบาท คณะกรรมการคดีพิเศษได้มีมติรับเป็นคดีพิเศษในปี พ.ศ. 2556 สืบสวนสอบสวนมายาวนานจน มีนาคม พ.ศ. 2566 ร.ต.อ. สุรวุฒิ รังไสย์ ผู้อำนวยการกองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ได้ส่งสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษที่ 37/2561 ให้กับพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ พร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา 34 ราย จากผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 560 ราย โดยผู้ต้องหา 3 รายที่ไม่ถูกสั่งฟ้องเนื่องจากเสียชีวิต จำนวนเอกสารในคดีนี้มีทั้งหมด 72 แฟ้ม 33,377 แผ่น คดีทุจริตเงินค่าล่วงเวลาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นคดีที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง มีประเด็นสำคัญที่ควรทราบ การสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำการสอบสวนคดีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมีการกล่าวหาว่าพนักงานจำนวนมากโกงค่าล่วงเวลา ทำให้ กทท. เสียหายกว่า 3,300 ล้านบาท สุดท้าย ดีเอสไอได้ส่งสำนวนให้อัยการเพื่อฟ้องร้องพนักงานเพียง 34 คน จากจำนวนประมาณ 560 คน โดย ดีเอสไอได้ยุติการฟ้องร้องคดีดังกล่าว โดยมีข้อสรุปว่าคดีนี้สิ้นสุดแล้ว และไม่มีการกล่าวหาผู้ใดอีกต่อไป การเรียกร้องค่าเสียหาย กลุ่มพนักงานการท่าเรือที่ถูกกล่าวหาแต่ไม่ถูกฟ้องร้องจำนวนหนึ่ง ได้ออกมาเรียกร้องค่าเสียหายจาก กทท. เนื่องจากได้รับความเสียหายจากการถูกกล่าวหา ประเด็นที่น่าสนใจ ความโปร่งใสในการตรวจสอบและดำเนินคดีนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบและดำเนินคดีอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการยุติคดีโดยไม่ฟ้องร้องนั้น ส่งผลกระทบจากการถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คน
