ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)รวบแก๊งป่วยทิพย์โกงเงินประกันโควิดมูลค่าความเสียหาย 2 ล้าน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
รวบแก๊งป่วยทิพย์โกงเงินประกันโควิดมูลค่าความเสียหาย 2 ล้าน

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ., พ.ต.อ.วิจักขณ์ ตารมย์ รอง ผบก.ปอศ., พ.ต.อ.ฐากิจจ์ โตเกียรติชูกรณ์ รอง ผบก.ปอศ.
เจ้าหน้าที่ชุดปฎิบัติการ นำโดย พ.ต.อ.กริช วรทัต ผกก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.วีระศักดิ์ ติระพัฒน์ รอง ผกก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.สมชาย ศรพล รอง ผกก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.จำนาญ จันทร์เทศ รอง ผกก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.รุตินันท์ สัตยาชัย สว.กก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.เชาว์นวุฒิ เลียบมา สว.กก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ท.สาธิต หาวงษ์ชัย สว.กก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ต.วรวุฒิ คงรักษา สว.กก.4 บก.ปอศ., พ.ต.ต.ไตรรงค์ หน่วยตุ้ย สว.ประจำ บก.ปอศ. พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปอศ.
ร่วมจับกุมกลุ่มผู้ต้องหาตามหมายจับเครือข่ายยื่นเคลมเท็จประกันชีวิตโรคโควิดจำนวน 10 ราย
1.นายกิตติภณฯ อายุ 30 ปี
2.นายราเชษฐ์ฯ อายุ 53 ปี
3.นางสาวนภาพรฯ อายุ 53 ปี
4.นายโกศลฯ อายุ 38 ปี
5.นางสาวลลิตาฯ อายุ 26 ปี
6.นายรัตนเทพฯ อายุ 39 ปี
7.นายชนะฯ อายุ 35 ปี
8.นางสาวทิฆัมพรฯ
9.นายสุทธิชาติฯ อายุ 43 ปี
10.นางสาวสุชาดาฯ อายุ 24 ปี
สถานที่จับกุม หลายท้องที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จ.ปราจีนบุรี, จ.สมุทรปราการ, จ.สมุทรสาคร
ฐานความผิด ฉ้อโกงทรัพย์, ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง
พฤติการณ์ เนื่องด้วยประมาณ เดือนมกราคม ปี 2564 บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรณีตรวจสอบพบการทุจริตยื่นเอกสารปลอมแจ้งเคลมประกันภัย ขอรับค่าสินไหมทดแทนจากกรณีเจ็บป่วยจาก
โรคระบาดโควิด 19 เป็นเหตุให้ทางบริษัทหลงเชื่อและจ่ายค่าสินไหมไปจำนวน 10 ราย เสียหายรวมกว่า 2 ล้านบาท
พฤติกรรมของกลุ่มผู้กระทำความผิด จะหาผู้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิตโรคโควิด 19 โดยขอเอกสาร
บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาหน้าบัญชีธนาคารของผู้เอากรมธรรม์ และให้ผู้เอากรมธรรม์กรอกเอกสาร
แบบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผ่านระบบออนไลน์ของบริษัทประกันภัย จากนั้นจะยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และใบรับรองแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ของบริษัทประกันภัย ระบุเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผู้เอากรมธรรม์ป่วยเป็น
โรคโควิด 19 บริษัทประกันจึงหลงเชื่อว่าผู้กระทำความผิดมีอาการป่วยจริงจึงจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผ่านบัญชีธนาคารของผู้เอากรมธรรม์ ภายหลังบริษัทประกันภัยได้สอบถามไปยังคลีนิกทางการแพทย์ผู้ออกเอกสาร
ใบรับรองแพทย์ พบว่าเป็นเอกสารปลอม และได้ตรวจสอบพบลักษณะการยื่นขอค่าสินไหมทดแทนรูปแบบเดียวกันจำนวน 23 ราย จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบว่าเอกสารใบรับรองแพทย์ทั้งหมดของผู้กระทำความผิดมาจากคลีนิคทางการแพทย์ชื่อดังแห่งหนึ่งย่านรามคำแหง
จากการสืบสวนสอบสวนพบว่า ผู้กระทำความผิด มีการแบ่งหน้าที่กันทำ คือผู้ทำหน้าที่ชักชวนผู้สนใจมาทำกรมธรรม์ประกันชีวิตโควิด 19 โดยเสนอผลประโยชน์เงินสินไหมทดแทน และขอแบ่งผลประโยชน์ 50-60 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหม เมื่อมีผู้สนใจกรมธรรม์ก็จะให้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
โดยยื่นเอกสารสำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชีธนาคาร และเอกสารใบรับรองแพทย์ปลอมที่จัดเตรียมให้ ยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อบริษัทประกันภัยได้ตรวจสอบเอกสารและจ่ายค่าสินไหมทดแทนจำนวนประมาณ 100,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารแล้ว จะนำเงินมาแบ่งผลประโยชน์กันตามที่ตกลงกันไว้ และจากการสืบสวนสอบสวนพบว่าคดีนี้
มีผู้กระทำความผิดทั้งหมด จำนวน 23 ราย ต่อมาพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีแจ้งข้อกล่าวหากับผู้กระทำความผิด จำนวน 11 ราย และได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหา จำนวน 12 ราย โดยต่อมาในห้วงวันที่
16-18 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน กก.4 บก.ปอศ. ได้ระดมจับกุมผู้ต้องหาที่หลบหนีจำนวน
10 ราย จับกุมได้ในหลายท้องที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จ.ปราจีนบุรี, จ.สมุทรปราการ, จ.สมุทรสาคร ซึ่งผู้ต้องหา
บางรายให้การสารภาพว่าได้รับการแนะนำชักชวนจากคนรู้จักต่อๆ กันมา ให้ทำกรมธรรม์ประกันภัยโรคโควิด 19
พร้อมช่วยเหลือในการจัดเอกสารต่างๆ ให้ และนำเอกสารใบรับรองแพทย์ปลอมมาเป็นหลักฐานประกอบการยื่น
ขอเคลมเงินประกันภัย โดยที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคโควิดแต่อย่างใด เมื่อได้รับเงินสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ก็จะนำไปแบ่งกันกับผู้ร่วมกระทำผิดรายอื่นตามสัดส่วนที่ได้มีการตกลงกันไว้ทั้งในรูปแบบเงินสด และโอนผ่านบัญชีธนาคาร
ส่วนเอกสารใบรับรองแพทย์คลีนิคทางการแพทย์ให้การยืนยันว่าเกิดขึ้นจากการตัดต่อชื่อและข้อความบางส่วน
ผู้เอากรมธรรม์ไม่ได้มารักษาที่คลีนิคแต่อย่างใด
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบรวมพยานหลักฐานไว้ทั้งหมดและจะได้ดำเนินการสืบสวนขยายผลหาตัวผู้กระทำความผิดที่เหลือมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ร.ต.อ.เจษฎา เหมโก รอง สว.กก.4 บก.ปอศ. โทร. 097-2452373
ตำรวจสอบสวนกลางขอเตือนภัยถึงพี่น้องประชาชน การกระทำในลักษณะฉ้อฉลประกันภัยและผู้ที่มีพฤติกรรมในการฉ้อฉลประกันภัยจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตาม พรบ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2562 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ประกันภัยเป็นการบริหารความเสี่ยงให้ความคุ้มครอง
ผู้เอาประกันภัยที่สุจริตเท่านั้น




You May Also Like